audit
Custom Search

::: ::: จุดประสงค์ของการจัดทำบล็อกขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ หรือ กำลังเข้าสอบ Tax audit ของ กรมสรรพกร จะได้มีแหล่งหาข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบมากขึ้น เพราะทางผู้จัดทำได้ เห็นว่าปัจจุบัน ในการค้นหา ข้อมูลที่จะใช้ในการสอบ นั้น มีน้อยมาก ยิ่งผู้ที่สอบส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน และ ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นัก ผู้จัดทำจึง ทำบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ ตั้งแต่คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ วิชาที่ทำการสอบ โดยเฉพาะ ตัวอย่างแนวข้อสอบ ที่ผู้จัดทำ จะพยายาม หามาให้มากที่สุด เพื่อทุกท่านจะได้ใช้ในการทบทวน การสอบแต่เนิ่นๆ และยินดีรับฟัง ข้อเสนอแนะทุกท่าน เพื่อพัฒนาบล็อกแห่งนี้ ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกท่านให้มากที่สุด โดยเสนอความเห็นตามคอมเม้นได้เลยครับ ... ผู้จัดทำหวังว่า บล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ กับทุกท่านนะครับ ขอให้โชคดีในการสอบทุกครั้งครับ ...

ข้อสอบ วิชาการบัญชี ครั้งที่ 8 ปี 2541

ข้อ 1 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเขียว

               บริษัท ไทยแลนด์ จำกัด มีรายการค้ากับผู้ซื้อและผู้ขายในต่างประเทศหลายราย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2541 บริษัทรายงานรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศต่อไปนี้ รายการค้าที่เกิดขึ้นตกลงกันเป็นเงินตราสกุลของบริษัทต่างประเทศเหล่านั้น บริษัท ไทยแลนด์ จัดทำงบการเงินปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม

มกราคม   1          ขายสินค้าให้บริษัท D ในประเทศเดนมาร์กเป็นเงิน 200,000 โครน กำหนดชำระ 60 วัน อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ขายเท่ากับ 6 บาทต่อโครน ณ วันเดียวกันนี้บริษัททำสัญญาซื้อขาย   อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward rate) กับธนาคารแห่งหนึ่ง โดยขายเงิน 200,000 โครน  ล่วงหน้ากำหนดส่งมอบ 1 มีนาคม อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการส่งมอบในอนาคตเท่ากับ 5.60 บาท ต่อโครน

               15        เซ็นสัญญาซื้อสินค้าจากบริษัท I ในประเทศอินเดียจำนวน 500,000 รูปี กำหนดส่งสินค้า
                          
วันที่ 1 สิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนทันที (spot rate) เท่ากับ 7.20 บาทต่อรูปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทไทยแลนด์ทำสัญญาซื้อขายอัตรา แลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อซื้อเงิน 500,000 รูปี ในวันที่ 1 สิงหาคม ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนล่วง หน้าเท่ากับ 7.60 บาทต่อรูปี สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเข้าเงื่อนไขเป็นการ ประกันความเสี่ยงสำหรับข้อผูกพันอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตที่ระบุได้ ส่วนเกินหรือส่วนลด จากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าในรอตัดบัญชี

               25        ซื้ออุปกรณ์จากบริษัท C ในประเทศแคนาดาจำนวน 50,000 เหรียญแคนาดา อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนี้เท่ากับ 39.20 บาทต่อเหรียญแคนาดา โดยจะต้องมีการชำระเงินตามจำนวนนี้ ในวันที่ 25 มีนาคม

มีนาคม     1   รับชำระเงินจากบริษัท D ในประเทศเดนมาร์กและทำการส่งมอบเงิน 200,000 โครน แค่นาคารตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (รายการวันที่ 1 มกราคม) อัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ วันนี้เท่ากับ 7.40 บาทต่อโครน

               25        จ่ายเงินเต็มจำนวนให้บริษัท C ในประเทศแคนาดา อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนี้เท่ากับ 40.80                               บาทต่อเหรียญแคนาดา

พฤษภาคม     1           ทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรเงินปอนด์ของอังกฤษ โดยตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัท ไทยแลนด์ จะซื้อเงิน 30,000 ปอนด์ สำหรับการส่งมอบใน 3 เดือน  ข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ วันนี้เท่ากับ 74 บาทต่อปอนด์ และอัตราล่วงหน้าสำหรับ  ระยะเวลา 3 เดือนเท่ากับ 68.80 บาทต่อปอนด์

               20        ขายสินค้าให้กับบริษัท F ในประเทศฝรั่งเศสเป็นเงิน 200,000 ปอนด์ กำหนดชำระเงิน 1 เดือน อัตราแลกเปลี่ยนของเงินฟรังก์ ณ วันนี้ เท่ากับ 8 บาทต่อฟรังก์

มิถุนายน   1          ซื้อสินค้าจากบริษัท M ในแมซิโกเป็นเงิน 1,000,000 เปโซ อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 2.40 บาทต่อเปโซ โดยจะจ่ายราคาตามใบกำกับสินค้า (Invoice) ในวันที่ 1 สิงหาคม

               20        ได้รับชำระเงินเต็มจำนวนจากบริษัท F ในฝรั่งเศส ณ วันนี้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินฟรังก์เท่ากับ 7.60 บาทต่อฟรังก์

ให้ทำ 1. บันทึกรายการค้าข้างต้นในสมุดรายวันของบริษัท ไทยแลนด์ จำกัด

         2. บันทึกรายการปรับปรุงมูลค่าลูกหนี้และเจ้าหนี้การค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เพื่อจัดทำงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยสมมติว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนี้ เป็นดังนี้

                           รูปี                                                                 8   บาท

                           เปโซ                                                               2   บาท

               อัตราล่วงหน้า 1 เดือนสำหรับเงินปอนด์อังกฤษ                  78  บาท

                                                                                                                          (20 คะแนน)

ข้อ 2 ให้ทำในสมุดคำตอบสีขาว

               ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 บริษัท ก มีหุ้นทุนออกอยู่ ดังนี้

               - หุ้นบุริมสิทธิ์สะสมชนิด 10% มูลค่าหุ้นละ 100 บาท จำนวน 10,750 หุ้น    1,075,000  บาท

               - หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 5 บาท จำนวน 400,000 หุ้น                                2,000,000  บาท

               ระหว่างปี 2541 บริษัท ก มีรายการเกี่ยวกับหุ้นทุนเพียงรายการเดียว คือ การออกหุ้นสามัญเพิ่ม 40,000 หุ้น ณ วันที่ 1 เมษายน

               รายการในปี 2541 เกิดขึ้นดังนี้

รายการพิเศษ (กำไร)                               

95,000

ขาดทุนจากการเลิกส่วนงาน

75,000

ค่าใช้จ่ายการบริหาร

240,000

รายได้ค่าเช่า

40,000

รายการพิเศษ (ขาดทุน)

60,000

เงินสดปันผลจ่ายให้หุ้นสามัญ

150,000

เงินสดปันผลประกาศจ่ายให้หุ้นบุริมสิทธิ

107,500

กำไรสะสม 1 มกราคม 2541

707,500

ต้นทุนสินค้าที่ขาย

850,000

ค่าใช้จ่ายการขาย

300,000

ขาย

1,900,000

อัตราภาษีเงินได้

30%

ให้ทำ จัดทำงบกำไรขาดทุน สำหรับปี 2541

                                                                                                                         (20 คะแนน)


         ข้อ  3 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเหลือง

               บริษัทแห่งหนึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ใช้ในกาเกษตร บริษัทมีโรงงานผลิตอยู่หลายโรงงาน แ ละมีแผนกวิจัยและพัฒนาแยกต่างหากจากโรงงานซึ่งทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท แผนกวิจัยและพัฒนาได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “เกษตร 23” ซึ่งเป็นยาปราบแมลงเป็นเวลา 5 ปี และประมาณว่าจ่ายเงินค่าวิจัยและพัฒนาไปเป็นจำนวน 5 ล้านบาท บริษัทได้สร้างโรงงานสำหรับผลิต “เกษตร 23” ขึ้น ซึ่งมีกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อเดือน โรงงานมีมูลค่า 12 ล้านบาท และมีอายุการใช้งาน 10 ปี ต้นทุนผลิตส่วนผันแปรลิตรละ 3 บาท ต้นทุนผลิตส่วนคงที่ประกอบด้วย เงินเดือน ค่าเบี้ยประกัน ค่าภาษี และอื่นๆ ซึ่งไม่รวมค่าเสื่อมราคามีจำนวน 50,000 บาทต่อเดือน

               ต้นทุนผลิตต่อหน่วยของ “เกษตร 23” คำนวณได้ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาต่อเดือน (12 ล้านบาทหาร120 เดือน)

100,000

ต้นทุนผลิตส่วนคงที่

50,000

รวม (บาท)

150,000

หาร กำลังการผลิตต่อเดือน (จำนวนลิตร)

10,000

ต้นทุนผลิตคงที่ต่อลิตร (บาท)

15.00

ต้นทุนผลิตผันแปรต่อลิตร (บาท)

3.00

รวมต้นทุนผลิตต่อหน่วย (บาท)

18.00

               บริษัทขาย “เกษตร 23” ในราคาลิตรละ 30 บาท และปัจจุบันบริษัทขายได้ปีละ 8,000 ลิตร

               โรงงานเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอีกโรงงานหนึ่งของบริษัทต้องการซื้อ “เกษตร 23” ไปเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าชื่อว่า “ไบ 7” ออกขาย โรงงานเชียงใหม่ยินดีที่จะจ่าย “เกษตร 23” ในราคาลิตรละ 5 บาท ซึ่งโรงงานเชียงใหม่ต้องจ่ายต้นทุนผลิตผันแปรในการผลิตต่ออีกลิตรละ 4 บาท และนำออกขายได้ในราคาลิตรละ 20 บาท

               ให้ทำ    1. ท่านคิดว่า

                           1.1  ราคาโอนที่โรงงานเชียงใหม่ยินดีจ่ายเป็นราคาโอนที่ยอมรับได้สำหรับโรงงานผลิต “เกษตร 23” หรือไม่ เพราะเหตุใด

                           1.2 ถ้าโรงงานผลิต “เกษตร 23” ไม่ยอมรับราคาโอนที่โรงงานเชียงใหม่เสนอและไม่ยอมโอนให้ การตัดสินใจดังกล่าวจะมีผลดีหรือผลเสียต่อบริษัทอย่างไร

                           2. ถ้าบริษัทมีนโยบายให้ตั้งราคาโอนเท่ากับต้นทุนผลิตรวม ถ้าโรงงานผลิต “เกษตร 23” ทำตามนโยบายดังกล่าว จะมีการโอนสินค้ากันหรือไม่ และการตัดสินใจดังกล่าวจะมีผลดีหรือผลเสียต่อบริษัทอย่างไร

                           3. ในสภาพที่โรงงานผลิต “เกษตร 23” มีกำลังการผลิตเหลือ ท่านคิดว่าราคาโอนราคาใดเป็นราคาโอนที่เหมาะสมที่จะทำให้แต่ละฝ่ายตัดสินใจดำเนินงานที่จะเป็นประโยชน์แก่บริษัท

                           4. ถ้ามีลูกค้ารายใหม่มาเสนอซื้อ “เกษตร 23” จำนวน 2,000 ลิตร  ในราคาลิตรละ 30 บาท โรงงานผลิต “เกษตร 23” มีทางเลือก 3 ทาง

                           4.1 ขาย “เกษตร 23” จำนวน 2,000 ลิตร ให้ลูกค้ารายใหม่ โดยปฏิเสธการโอน “เกษตร 23” ให้โรงงานเชียงใหม่ในราคาโอน 5 บาทต่อลิตร

                           4.2 ขาย “เกษตร 23” จำนวน 1,000 ลิตร ให้ลูกค้ารายใหม่ และโอน “เกษตร 23” จำนวน 1,000 ลิตร ให้โรงงานเชียงใหม่ในราคาโอน 5 บาทต่อลิตร                                              

                           4.3 สร้างโรงงานใหม่อีก 1 โรง ซึ่งต้องจ่ายเงิน 12 ล้านบาท  และจะมีกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อเดือน เพื่อผลิต “เกษตร 23” ให้ลูกค้ารายใหม่ และโอนให้โรงงานเชียงใหม่ในราคาโอน 5 บาทต่อลิตร

               ท่านคิดว่าโรงงานผลิต “เกษตร 23” ควรตัดสินใจในทางเลือกไหน เพราะเหตุใด

                           5. ค่าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “เกษตร 23” จำนวน 5 ล้านบาท มิได้นำมาคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนผลิตของ “เกษตร 23” การที่มิได้นำมาคิดเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนผลิต ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องต้นทุนผลิตของ “เกษตร 23” จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

                                                                                                                         (20 คะแนน)

No comments: