audit
Custom Search

::: ::: จุดประสงค์ของการจัดทำบล็อกขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ หรือ กำลังเข้าสอบ Tax audit ของ กรมสรรพกร จะได้มีแหล่งหาข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบมากขึ้น เพราะทางผู้จัดทำได้ เห็นว่าปัจจุบัน ในการค้นหา ข้อมูลที่จะใช้ในการสอบ นั้น มีน้อยมาก ยิ่งผู้ที่สอบส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน และ ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นัก ผู้จัดทำจึง ทำบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ ตั้งแต่คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ วิชาที่ทำการสอบ โดยเฉพาะ ตัวอย่างแนวข้อสอบ ที่ผู้จัดทำ จะพยายาม หามาให้มากที่สุด เพื่อทุกท่านจะได้ใช้ในการทบทวน การสอบแต่เนิ่นๆ และยินดีรับฟัง ข้อเสนอแนะทุกท่าน เพื่อพัฒนาบล็อกแห่งนี้ ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกท่านให้มากที่สุด โดยเสนอความเห็นตามคอมเม้นได้เลยครับ ... ผู้จัดทำหวังว่า บล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ กับทุกท่านนะครับ ขอให้โชคดีในการสอบทุกครั้งครับ ...

ข้อสอบ วิชาการบัญชี ครั้งที่ 9 ปี 2541

ข้อ 1 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเหลือง

               ในระหว่างปี 2540 บริษัท เกษมทรัพย์ มีรายการดังต่อไปนี้

               - เมื่อวันที่ 2 มกราคม บริษัทซื้อสินทรัพย์สุทธิของบริษัทแสงตะวัน จำกัด ในราคา 720,000 บาท มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิของบริษัทแสงตะวันเท่ากับ 344,000 บาท บริษัท เกษมทรัพย์เชื่อว่าค่าความนิยมของบริษัทมีไม่จำกัด เนื่องจากความมีชื่อเสียงของสินค้าบริโภคของบริษัทแสงตะวัน

               - เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์  บริษัทซื้อสิทธิในการดำเนินกิจการเรือข้ามฟากจากรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน  120,000  บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 1% ของรายได้ สิทธินี้มีอายุ 5 ปี รายได้จากกิจการเฟอรี่มีจำนวน 40,000 บาท ระหว่างปี 2540 บริษัทประมาณรายได้ในปี 2541 ไว้เท่ากับ 80,000 บาท และ 120,000 บาทต่อปี สำหรับ 3 ปี หลังจากนั้น

               - เมื่อวันที่ 5 เมษายน บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นของบริษัทแสงตะวัน ในระหว่างปี 2540 บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายทางกฎหมายจำนวน 102,000 บาท เพื่อจดทะเบียนลิขสิทธิ์และอีก 170,000 บาท ในการฟ้องร้องบริษัทคู่แข่งเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัทประมาณว่าลิขสิทธิ์จะมีอายุทางเศรษฐกิจอีก 10 ปี

               นโยบายการบัญชีของบริษัทจะตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามวิธีเส้นตรงเป็นจำนวนสูงสุดที่กำหนดโดยหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยตัดจำหน่ายเต็มปีในปีที่มีการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

               คำสั่ง    ก. 1. อธิบายลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อภิปรายการบัญชีเกี่ยวกับการซื้อหรือการพัฒนาภายในของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่ทราบอายุของสินทรัพย์นั้นเช่น ค่าความนิยม

                                 2. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนควรตัดจำหน่ายในช่วงใด ช่วงที่ตัดจำหน่ายควรพิจารณาอย่างไร อภิปรายการให้เหตุผลสำหรับการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่สามารถบอกถึงอายุของสินทรัพย์นั้นได้

                                 3. อธิบายถึงการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเขียนหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้อง

                           ข. จัดทำตารางแสดงส่วนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนของงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และตารางแสดงถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะปรากฎในงบกำไรขาดทุน ประจำปี 2540 ของบริษัท แสดงการคำนวณประกอบ (สมมติหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอนุญาตให้ตัดบัญชีค่าความนิยมได้ในเวลาไม่เกิน 40 ปี)

              
ข้อ    2   ให้ใช้สมุดคำตอบสีส้ม

               นายใฝ่รู้ ประธานบริษัทเร่งผลิตจำกัด มีความสงสัยในวิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน 2 แบบ คือ แบบแสดงต้นทุนรวม (full/absorption costing) และแบบต้นทุนผันแปร (variable/direct costing) ว่าแสดงกำไรจากการดำเนินงานแตกต่างกัน จึงขอให้ท่านช่วยจัดทำงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุด 30 กันยายน 2541 ทั้งสองแบบ โดยแยกแสดงรายไตรมาส จากข้อมูลต่อไปนี้

               1) ไตรมาสที่ 1 ของกิจการเริ่ม 1 ตุลาคม 2540

               2) บริษัททำการผลิตสินค้าชนิดเดียว โดยมีกำลังการผลิตไตรมาสละ 2,000 หน่วย หรือปีละ 8,000                           หน่วย ราคาขายหน่วยละ 100 บาท

               3) ต้นทุนผันแปรมาตรฐานต่อหน่วยประกอบด้วย

                    3.1) วัตถุดิบทางตรง 30 บาท

                    3.2) ค่าแรงทางตรง 22 บาท

                    3.3) ค่าใช้จ่ายการผลิต 8 บาท

               4) ประมาณการค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ ปีละ 120,000 บาท หรือไตรมาสละ 30,000 บาท

               5) ค่าใช้จ่ายดำเนินงานคงที่ ไตรมาสละ 20,000 บาท หรือปีละ 80,000 บาท

               6) ค่าใช้จ่ายในการขายผันแปร หน่วยละ 5 บาท

               7) นโยบายของกิจการในเรื่องเกี่ยวกับผลต่างที่เกิดขึ้น ให้ถือว่าไม่มีนัยสำคัญให้ปิดเข้าบัญชีต้นทุน
                    สินค้าขาย ซึ่งผลรวมของผลต่างวัตถุ ผลต่างค่าแรง และผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตที่ควบคุมได้ ใน                               แต่ละไตรมาสเป็นผลต่างที่ไม่พึงพอใจ (unfavorable) ทั้งสิ้น มีดังนี้

                                    ไตรมาส1 = 1,500 บาท               ไตรมาส2  = 900  บาท

                                    ไตรมาส3 = 1,400 บาท               ไตรมาส4  = 1,700 บาท

               8) สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2540 มีจำนวน 400 หน่วย

               9) ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลิตและขาย มีดังนี้

 

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 4

หน่วยผลิตตามแผน

2,000

2,000

2,000

2,000

หน่วยผลิตจริง

2,000

1,800

2,000

2,200

หน่วยขายจริง

2,000

2,000

1,800

1,800

                                                                                                                         (20 คะแนน)

ข้อ 3 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเขียว

               บริษัท ไฟคอม จำกัด ผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้าซึ่งใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ บริษัทมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนา เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ทางต่างประเทศออกแบบมาให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท จากการที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบงบการเงินของบริษัท ผู้สอบบัญชีได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงงบการเงินให้เหมาะสม ดังนี้

               1. สินค้าคงเหลือเดิมตีในราคาทุนเข้าก่อนออกก่อนหรือราคามูลค่าขายสุทธิที่ต่ำกว่า ให้เปลี่ยนเพื่อให้
เหมาะสมกับสถานการณ์เป็นราคาทุนเข้าหลังออกก่อนหรือราคามูลค่าขายสุทธิที่ต่ำกว่า ปรากฏว่าขายสุทธิมีราคาสูงกว่าราคาทุน ราคาทุนเข้าหลังออกก่อนของสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2540 จำนวนเงิน 889,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 จำนวนเงิน 1,270,000 บาท

               2. ให้เปลี่ยนวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์จากวิธีเส้นตรงมาเป็นวิธีอัตราเร่ง ผลจากการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้ค่าเสื่อมราคาของปี 2540 เพิ่มขึ้นจากเดิม 230,000 บาท และค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 เพิ่มขึ้นจากเดิม 450,000 บาท

               3. เดิมบริษัทตั้งค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาสำหรับปี 2540 บันทึกบัญชีเป็นสินทรัพย์ครึ่งหนึ่งและตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่ง ผู้สอบบัญชีพบว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนาควรตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด เนื่องจากบริษัทไม่ได้รับประโยชน์จากผลการวิจัยและพัฒนาดังกล่าวในปี 2540 และอนาคต

               4. เนื่องจากบริษัทมีเครดิตภาษี 60,000 บาท บริษัทได้นำไปลดหย่อนภาษีทั้งก้อน ผู้สอบบัญชีแนะนำว่าควรทยอยลดยอดภาษีสำหรับระยะเวลา 10 ปี โดยเริ่มจากวันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป

         คำสั่ง

               1. ให้จัดทำงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ตามคำแนะนำของผู้สอบบัญชีใหม่

               2. บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ตามความจำเป็น     


บริษัท ไฟคอม จำกัด

งบดุล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540

 

สินทรัพย์

หน่วยพันบาท

สินทรัพย์หมุนเวียน

 

 

 

         เงินสด

 

436

 

         ลูกหนี้การค้าสุทธิ

 

828

 

         สินค้าคงเหลือ

 

1,720

 

         ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

 

30

 

               รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

 

 

3,014

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

 

 

 

         ที่ดิน

 

560

 

         อาคาร และอุปกรณ์

3,940

 

 

         หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม

(1,360)

 

 

               อาคารและอุปกรณ์สุทธิ

 

2,580

 

               รวมที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

 

 

3,140

สินทรัพย์อื่น

 

 

 

         ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนารอตัดบัญชี

 

 

1,150

               รวมสินทรัพย์

 

 

7,304

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หนี้สินหมุนเวียน

 

 

 

         เจ้าหนี้

 

520

 

         ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

 

380

 

               รวมหนี้สินหมุนเวียน

 

 

900

หนี้สินระยะยาว

 

 

 

         ตั๋วเงินจ่าย

 

2,620

 

         ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี

 

500

 

               รวมหนี้สินระยะยาว

 

 

3,120

               รวมหนี้สิน

 

 

4,020

ส่วนของผู้ถือหุ้น

 

 

 

         ทุน-หุ้นสามัญ ราคาตามมูลค่าหุ้นละ 10 บาท

 

2,000

 

         กำไรสะสม

 

1,284

 

               รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

 

 

3,284

               รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

 

 

7,304

 

 

 

 

บริษัท ไฟคอม จำกัด

งบกำไรขาดทุน

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540

 

พันบาท

 

รายได้

 

4,950

หัก     ค่าใช้จ่าย

 

 

         ต้นทุนขาย

3,150

 

         ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาตัดบัญชี

350

 

         ค่าสอบบัญชี

100

 

         ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

400

 

                    รวมค่าใช้จ่าย

 

(4,000)

กำไรก่อนหักภาษี

 

950

                    ภาษีเงินได้นิติบุคคล

285

 

                    เครดิตภาษี

(60)

(225)

กำไรสุทธิ

 

725

 

                                                                                          (20 คะแนน)

1 comment:

Unknown said...

ไม่มีเฉลยหรอครับ