audit
Custom Search

::: ::: จุดประสงค์ของการจัดทำบล็อกขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ หรือ กำลังเข้าสอบ Tax audit ของ กรมสรรพกร จะได้มีแหล่งหาข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบมากขึ้น เพราะทางผู้จัดทำได้ เห็นว่าปัจจุบัน ในการค้นหา ข้อมูลที่จะใช้ในการสอบ นั้น มีน้อยมาก ยิ่งผู้ที่สอบส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน และ ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นัก ผู้จัดทำจึง ทำบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ ตั้งแต่คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ วิชาที่ทำการสอบ โดยเฉพาะ ตัวอย่างแนวข้อสอบ ที่ผู้จัดทำ จะพยายาม หามาให้มากที่สุด เพื่อทุกท่านจะได้ใช้ในการทบทวน การสอบแต่เนิ่นๆ และยินดีรับฟัง ข้อเสนอแนะทุกท่าน เพื่อพัฒนาบล็อกแห่งนี้ ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกท่านให้มากที่สุด โดยเสนอความเห็นตามคอมเม้นได้เลยครับ ... ผู้จัดทำหวังว่า บล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ กับทุกท่านนะครับ ขอให้โชคดีในการสอบทุกครั้งครับ ...

ข้อสอบวิชา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ครั้งที่ 2 ปี 2539

ครั้งที่ 2 (2/2539)

ข้อสอบวิชา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ครั้งที่ 2 ปี 2539

ข้อ 1 ให้ใช้สมุดคำตอบสีฟ้า

เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ท่านจะเป็นผู้สอบบัญชีของธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ และหากท่านได้ลูกค้าใหม่เป็นบริษัทจดทะเบียน (ท่านไม่เคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประเภทนี้มาก่อน) ท่านจะทำอย่างไรจึงจะรับงานนี้ได้
( 20 คะแนน)

ข้อ 2 ให้ใช้สมุดคำตอบสีขาว

พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดห้ามบุคคลใดบ้างเข้าเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทมหาชน จำกัด
( 20 คะแนน)

ข้อ 3 ให้ใช้สมุดคำตอบสีม่วง
ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ว่าถูกหรือผิด ถ้าถูกไม่ต้องอธิบายเหตุผล ถ้าผิดให้อธิบายว่าคำตอบที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
1) ใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามทึ่กฎหมายกำหนดไม่ สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักเป็นราย จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
2) กิจการขนส่งระหว่างประเทศของนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องเสียภาษีในไทย โดยคำนวณภาษีเงินได้นิติ บุคคลในกรณีรับขนของ จาก รายได้ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศ ไทย
3) บริษัทที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิเมื่อส่งเงินกำไรที่เหลือไปต่างประเทศต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรไป ต่างประเทศด้วย
4) บริษัทจำกัด มีข้อกำหนดในรูปสวัสดิการให้แก่พนักงานทุกคน โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่ พนักงาน รายจ่ายดังกล่าวบริษัทสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ แต่ไม่เกิน 2/102 ของกำไรสุทธิก่อน หักค่าการกุศลสาธารณะ
5) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้มีเงินได้จากส่วนลดที่ได้จากบัตรเงินฝากชนิดเปลี่ยนมือได้ (NCD) ผู้จ่ายเงินได้ดัง กล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของเงินได้

( 20 คะแนน)

No comments: