แนวข้อสอบ การทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ข้อ 1 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเทา
บริษัท ก การช่างจำกัด เป็นบริษัทก่อสร้างซึ่งใช้ระบบต้นทุนงานสั่งทำ บริษัทคิดโสหุ้ยการผลิตเข้างานในอัตรา 55% ของต้นทุนค่าแรงงานทางตรง
ณ วันที่ 1 สิงหาคม ยอดคงเหลือในบัญชีงานระหว่างทำมีจำนวน 34,524 พันบาท โดยมีงานต่อไปนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
หน่วย : พันบาท
งานเลขที่ | วัตถุดิบ | แรงงานทางตรง | โสหุ้ยการผลิต | รวม |
478 | 5,100 | 9,620 | 4,810 | 19,530 |
479 | 3,470 | 3,960 | 1,980 | 9,410 |
480 | 4,120 | 976 | 488 | 5,584 |
รวม | 12,690 | 14,556 | 7,278 | 34,524 |
| | | | |
รายการค้าบางรายการที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนสิงหาคม มีดังนี้
(1) วัตถุดิบใช้ไป งานเลขที่ 480 449 พันบาท
งานเลขที่ 481 3,500 พันบาท
งานเลขที่ 482 2,100 พันบาท
วัตถุดิบทางอ้อม 390 พันบาท
รวม 6,439 พันบาท
(2) ค่าแรงงานใช้ไป งานเลขที่ 478 331 พันบาท
งานเลขที่ 479 2,651 พันบาท
งานเลขที่ 480 7,800 พันบาท
งานเลขที่ 481 5,891 พันบาท
งานเลขที่ 482 1,720 พันบาท
ค่าแรงงานทางอ้อม 853 พันบาท
รวม 19,426 พันบาท
(3) คิดโสหุ้ยการผลิตเข้างานในอัตรา 55% ของค่าแรงงานทางตรง
(4) งานเลขที่ 478 และ 479 เสร็จในเดือนสิงหาคม
ผู้บริหารบริษัทมีความเป็นห่วงว่าต้นทุนจะสูงกว่าที่คาดไว้ โดยผู้บริหารคาดหวังว่าต้นทุนของงานต่าง ๆ จะเป็นดังนี้
งานเลขที่ 478 20,000 พันบาท เมื่องานเสร็จ
งานเลขที่ 479 13,000 พันบาท เมื่อเสร็จงาน
งานเลขที่ 480 15,000 พันบาท ณ 31 สิงหาคม
งานเลขที่ 481 10,000 พันบาท ณ 31 สิงหาคม
งานเลขที่ 482 4,000 พันบาท ณ 31 สิงหาคม
คำสั่ง ให้เปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงกับที่เกิดขึ้นจริงกับที่ผู้บริหารคาดไว้ และรายงานผลที่เกิดขึ้น
ข้อ 2 ให้ใช้สมุดคำตอบสีม่วง
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2537 บริษัท ก จำกัด ซื้อหุ้นสามัญของหุ้นสามัญของบริษัท ข จำกัด จำนวน 90% โดยจ่ายเงินสูงกว่าราคาตามบัญชี 67,500 บาท ซึ่งถือเป็นค่าความนิยมและตัดบัญชีภายใน 5 ปี
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2538 บริษัท ก จำกัด ได้ขายหุ้นบริษัท ข จำกัด ไป 10% ในราคา 210,000 บาท
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 ส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัท ข จำกัด ประกอบด้วย
บาท
หุ้นทุน 750,000
กำไรสะสม 1 มกราคม 2537 750,000
กำไรสุทธิ ปี 2537 450,000
เงินปันผล ปี 2537 (300,000)
1,650,000
ปี 2538 บริษัท ข จำกัด มีกำไรสุทธิ 600,000 บาท
กำไรในสินค้าที่ซื้อขายระหว่างกันคงเหลือ ดังนี้
31 ธค. 37 31 ธค. 38
บริษัท ก จำกัด ขาย 12,000 18,000
บริษัท ข จำกัด ขาย 15,000 7,500
ให้ทำ :
(1) แสดงการคำนวณราคาทุนของหุ้น 10% ของบริษัท ข จำกัด ซึ่งขายเมื่อ 1 กรกฎาคม 2538
(2) แสดงการคำนวณการรับรู้รายได้จากบริษัท ข จำกัด ปี 2537 และปี 2538
(3) บันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัท ข จำกัด ในสมุดรายวันทั่วไปของบริษัท ก จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538
(4) แสดงรายการตัดบัญชี เพื่อทำงบการเงินรวมปี 2538
(20 คะแนน)
ข้อ 3 ให้ใช้สมุดคำตอบสีส้ม
บริษัท ไทยพัฒนา จำกัด เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2536 โดยประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องเคมีภัณฑ์โดยการขายเชื่อทั้งสิ้น รายการที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2536 ถึงปี 2538 มีรายละเอียด ดังนี้
รายการ หน่วย : บาท
ปี 2536 ปี 2537 ปี 2538
ยอดขายทั้งปี 10,000,000 15,000,000 18,000,000
ยอดลูกหนี้ ณ วันสิ้นปี 1,000,000 1,500,000 1,800,000
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. กิจการกำหนดนโยบายในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ดังนี้
(1) ในปี 2536 ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อในอัตราร้อยละ 1
(2) ในปี 2537 บริษัทเปลี่ยนนโยบายในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญใหม่ โดยการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ให้มีจำนวนเท่ากับร้อยละ 3 ของลูกหนี้ ณ วันสิ้นปีแทน และถือปฏิบัติมาจนปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญวิธีใหม่นี้ให้ผลในการประมาณหนี้สงสัยจะสูญที่เหมาะสมกับลักษณะลูกหนี้ของกิจการ
2. ในระหว่างปี 2537 บริษัทตัดบัญชีลูกหนี้ 3 ราย ซึ่งมียอดค้างรวม 30,000 บาท เป็นหนี้สูญ
3. ในระหว่างปี 2538 ลูกหนี้ที่ตัดบัญชีเป็นหนี้สูญรายหนึ่ง จำนวนหนึ่ง จำนวนเงิน 10,000 บาท นำเงินมาชำระหนี้
4. ในการตัดจำหน่ายหนี้สูญ และหนี้สูญได้รับคืน ให้ถือว่าเป็นกรณีการตัดหนี้สูญที่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ประมวลรัษฎากร
ให้ท่าน :
1. ลงรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป ของบริษัท ไทยพัฒนา จำกัด
(1) ณ 31 ธันวาคม 2536
(2) ระหว่างปี 2537
(3) ณ 31 ธันวาคม 2537
(4) ระหว่างปี 2538
(5) ณ 31 ธันวาคม 2538
2. แสดงงบดุลและงบกำไรขาดทุน สำหรับปี 2536 ถึงปี 2538 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับรายการข้างต้น
3. แสดงรายการในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับปี 2536 ถึงปี 2538 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกำไรสุทธิ ตามบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิตามภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลกระทบของรายการค้า
ดังกล่าวข้างต้น
No comments:
Post a Comment