แนวข้อสอบ การทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
บริษัท ขนมต้ม จำกัด (มหาชน)
งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538
| 2539 | 2538 | เพิ่มขึ้น (ลดลง) |
เงินสดและเงินฝากธนาคาร | 800,000 | 700,000 | 100,000 |
ลูกหนี้การค้า | 1,128,000 | 1,168,000 | (40,000) |
สินค้าคงเหลือ | 1,850,000 | 1,715,000 | 135,000 |
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ | 3,307,000 | 2,967,000 | 340,000 |
ค่าเสื่อมราคาสะสม | (1,165,000) | (1,040,000) | (125,000) |
เงินลงทุนในบริษัท ขนมหวาน จำกัด | 305,000 | 275,000 | 30,000 |
ลูกหนี้เงินกู้ยืม | 270,000 | 0 | 270,000 |
สินทรัพย์รวม | 6,495,000 | 5,785,000 | 710,000 |
เจ้าหนี้การค้า | 1,015,000 | 955,000 | 60,000 |
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย | 30,000 | 50,000 | (20,000) |
เงินปันผลค้างจ่าย | 80,000 | 90,000 | (10,000) |
เจ้าหนี้สัญญาเช่าการเงิน | 400,000 | 0 | 400,000 |
หนี้สินอื่น | 500,000 | 500,000 | 0 |
ทุนเรือนหุ้น | 1,500,000 | 1,500,000 | 0 |
กำไรสะสม | 2,970,000 | 2,690,000 | 280,000 |
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น | 6,495,000 | 5,785,000 | 710,000 |
1. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นสามัญคิดเป็นร้อยละ 25 ของบริษัท ขนมหวาน จำกัด มูลค่า 275,000 บาท ณ วันที่ได้มา บริษัท ขนมหวาน จำกัด มีสินทรัพย์รวม 1,100,000 บาท บริษัท ขนมหวาน จำกัด มีกำไรสุทธิสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็นเงิน 120,000 บาท บริษัท ขนมหวาน จำกัด มิได้จ่ายเงินปันผลในปีนี้
2. ในระหว่างปี 2539 บริษัทฯ ได้กู้ยืมเงินแก่บริษัท ขนมไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท บริษัทขนมไทย จำกัด ได้ชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2539 เป็นเงิน 30,000 บาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี
3. ณ วันที่ 2 มกราคม 2539 บริษัทฯ ขายเครื่องจักรเป็นเงินสดในราคา 40,000 บาท ซึ่งเครื่องจักรมีราคาทุนเดิม 60,000 บาท และราคาตามบัญชี 35,000 บาท
4. วันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทฯ ทำสัญญาเช่าการเงินสำหรับอาคารสำนักงาน สัญญาเช่าดังกล่าวมีมูลค่า ปัจจุบันของเค่าเช่าที่ต้องจ่ายในแต่ละปีเท่ากับ 400,000 บาท ซึ่งเท่ากับราคายุติธรรมของอาคารดังกล่าว บริษัทฯ ชำระค่าเช่าครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2540 เป็นเงิน 60,000 บาท
5. กำไรสุทธิสำหรับปี 2539 เท่ากับ 360,000 บาท
6. บริษัทฯ ประกาศและจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2539 และ 2538 ดังนี้
2539 2538
ประกาศ 15 ธันวาคม 39 15 ธันวาคม 38
จ่าย 28 กุมภาพันธ์ 40 28 กุมภาพันธ์ 39
จำนวน 80,000 90,000
คำสั่ง
ให้จัดทำงบกระแสเงินสดสำหรับปี 2539 ตามวิธีทางอ้อม โดยไม่ต้องแสดงกระดาษทำการหรือตารางเพิ่มเติม
(20 คะแนน)
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 ทันทีก่อนที่จะมีการรวมกิจการ ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ทั้งสอง เป็นดังนี้
ไพรพนา สาธร
ทุนเรือนหุ้น 5,500,000 2,500,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,200,000 470,000
กำไรสะสม 7,360,000 2,430,000
17,060,000 5,400,000
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ระหว่างเดือนมีนาคม 2540 บริษัท ไพรพนาจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรวมกิจการกับสาธร เป็นจำนวน 720,000 บาท
2. บริษัท ไพรพนา บันทึกเงินลงทุนในบริษัทสาธรตามวิธีส่วนได้เสีย
3. ในวันที่ 31 ธันวาคม 2540 มูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินสุทธิของบริษัทสาธรเท่ากับราคาตามบัญชี ยกเว้นเงิน ลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ซึ่งมีราคาตลาดสูงกว่าราคาทุนรวมอยู่ 600,000 บาท
4. ในวันที่ 10 มีนาคม 2540 บริษัท สาธรจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญจำนวน 250,000 บาท
5. ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 บริษัท ไพรพนา จ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญจำนวน 1,500,000 บาท
6. ระหว่างเดือนสิงหาคม 2540 บริษัท ไพรพนาขายสินค้าให้บริษัทสาธรมีกำไรจากการขายดังกล่าว 800,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 หนึ่งในสี่ของสินค้าจำนวนนี้ ยังคงเหลืออยู่ในสินค้าปลายงวด
7. ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2540 บริษัท สาธรจ่ายค่าธรรมเนียมการบริหารให้บริษัทไพรพนา จำนวน 150,000 บาท
8. บริษัท สาธร มีกำไรสุทธิประจำปี 2540 จำนวน 1,450,000 บาท บริษัท ไพรพนามีกำไรสุทธิประจำปี 2540 (ก่อนที่จะรวมส่วนแบ่งในกำไรของบริษัทสาธร) จำนวน 2,240,000 บาท
9. ยอดคงเหลือในกำไรสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ของบริษัท ไพรพนา และ บริษัทสาธร เท่ากับ 6,820,000 บาท และ 2,290,000 บาท ตามลำดับ
คำสั่ง
ก. ให้ลงรายการในสมุดรายวันของบริษัท ไพรพนา เพื่อบันทึกการรวมกิจการกับบริษัท สาธร และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรวมกิจการ
ข. ทำตารางแสดงการคำนวณเงินลงทุนในบริษัท สาธร จำกัด ตามวิธีส่วนได้เสีย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540
ค. ทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงกำไรสะสมรวมสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540 ของบริษัทไพรพนา จำกัด ๆ และบริษัทย่อย
(20 คะแนน)
โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละเดือนแผนกประมงจับปลาได้ 1,000 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการผลิตในแผนกผลิตแล้ว จะได้ปลาซึ่งเตรียมพร้อมจะบรรจุกระป๋องเพียง 500 กิโลกรัมเท่านั้น เมื่อนำไปบรรจุกระป๋องก็จะได้ปลา 300 กระป๋อง และจำหน่ายในราคากระป๋องละ 12 บาท
ราคาตลาดของปลาสดซึ่งซื้อจากเรือประมง กิโลกรัมละ 1 บาท แต่ถ้ากิจกการไม่ทำการผลิตปลาเองก็จะซื้อปลาที่ผ่านกระบวนการผลิตจนพร้อมที่จะนำไปบรรจุกระป๋องได้ในราคากิโลกรัมละ 5 บาท นโยบายในการผลิตของกิจการ คือพยายามให้มีสินค้าคงเหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ในเดือนที่ผ่านมากิจการไม่มีสินค้าระหว่างทำต้อนต้นงวด แต่แผนกผลิตและแผนกจำหน่ายมีสินค้าสำเร็จรูปในวันปลายงวด 25 กิโลกรัม และ 30 กระป๋อง ตามลำดับ
แผนกทั้งสามแสดงงบกำไรขาดทุน ดังนี้
| แผนกประมง | | แผนกผลิต | | แผนกจำหน่าย |
รายได้ | 1,000 | | 2,375 | | 3,060 |
ค่าใช้จ่าย | | | | | |
ต้นทุนรับโอนจากแผนกก่อน | 0 | | 1,000 | | 2,375 |
ผันแปร | 200 | | 400 | | 85 |
คงที่ | 400 | | 300 | | 210 |
รวมค่าใช้จ่าย | 600 | | 1,700 | | 2,670 |
หัก สินค้าคงเหลือ | 0 | | 85 | | 280 |
ต้นทุนสินค้าขาย | 600 | | 1,615 | | 2,390 |
กำไรสุทธิ | 400 | | 760 | | 670 |
| | | | |
1 comment:
มีประโยชน์มากๆค่ะ แต่ถ้ามีแนวคำตอบก็จะดีไม่น้อยเลยนะคะ (55555) คณะจัดทำมีจิตใจที่เอื้ออารีย์ดีจริงๆค่ะ ขอให้รวยๆๆๆๆในทุกๆอาชีพที่ทำนะคะ
Post a Comment