audit
Custom Search

::: ::: จุดประสงค์ของการจัดทำบล็อกขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ หรือ กำลังเข้าสอบ Tax audit ของ กรมสรรพกร จะได้มีแหล่งหาข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบมากขึ้น เพราะทางผู้จัดทำได้ เห็นว่าปัจจุบัน ในการค้นหา ข้อมูลที่จะใช้ในการสอบ นั้น มีน้อยมาก ยิ่งผู้ที่สอบส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน และ ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นัก ผู้จัดทำจึง ทำบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ ตั้งแต่คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ วิชาที่ทำการสอบ โดยเฉพาะ ตัวอย่างแนวข้อสอบ ที่ผู้จัดทำ จะพยายาม หามาให้มากที่สุด เพื่อทุกท่านจะได้ใช้ในการทบทวน การสอบแต่เนิ่นๆ และยินดีรับฟัง ข้อเสนอแนะทุกท่าน เพื่อพัฒนาบล็อกแห่งนี้ ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกท่านให้มากที่สุด โดยเสนอความเห็นตามคอมเม้นได้เลยครับ ... ผู้จัดทำหวังว่า บล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ กับทุกท่านนะครับ ขอให้โชคดีในการสอบทุกครั้งครับ ...

ข้อสอบ วิชาการบัญชี ครั้งที่ 4 ปี 2540

ข้อ 1 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเหลือง         

ในระหว่างเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท เอบีซี คอมพิวเตอร์ จำกัด มีเหตุการณ์ต่อไปนี้เกิดขึ้น

1.        ผลิตและขายคอมพิวเตอร์ 50 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 10,000 บาท (งบประมาณการขายเท่ากับ 40 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 11,000 บาท)

2.        ต้นทุนผันแปรมาตรฐานต่อหน่วยเป็นดังนี้

     วัตถุดิบทางตรง 2 ปอนด์ ราคาปอนด์ละ 1,000 บาท                                            2,000  บาท

     แรงงานทางตรง 10 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 150 บาท                                         1,500  บาท

     โสหุ้ยการผลิตผันแปร 10 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท                                    500  บาท

                                                รวม                                                                  4,000  บาท

 

3.  ต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเป็นดังนี้

     วัตถุดิบทางตรงซื้อและใช้ 110 ปอนด์ ราคาปอนด์ละ 1,200 บาท                   130,000  บาท

     แรงงานทางตรง 600 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 140 บาท                                 84,000  บาท

     โสหุ้ยการผลิตผันแปร                                                                                28,000  บาท

          ให้คำนวณผลต่างของต้นทุนการผลิตผันแปรให้ละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (20 คะแนน)

 

--------------------------------------------------------------------

ข้อ 2 ให้ใช้สมุดคำตอบสีฟ้า

                       บริษัท จาจ้า จำกัด ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดไว้จำนวนหนึ่งระหว่างปี 2537 ณ วันสิ้นงวดบัญชี 2537 ราคาตลาดรวมของหลักทรัพย์สูงกว่าราคาทุนอยู่ 5,000 บาท ในระหว่างปี 2538 บริษัท จาจ้า จำกัด ได้ซื้อหลักทรัพย์ประเภทนี้ในความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นจากหลักทรัพย์ประเภททุนที่มีอยู่โดยถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราวทั้ง 2 ประเภทของหลักทรัพย์ ณ วันสิ้นงวดบัญชีปี 2538 ราคาตลาดรวมของหลักทรัพย์ทั้งสองประเภทมีราคาต่ำกว่า 70,000 บาท ทั้งนี้ราคาตลาดรวมของหลักทรัพย์ประเภทหนี้มีราคาสูงกว่าทุนอยู่ 20,000 บาท

               เนื่องจากตลอดระยะเวลาของปี 2539 ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่อยู่ในสภาวะที่น่ากระทำผู้บริหารของบริษัทคิดว่าหากขายหลักทรัพย์ที่ถือไว้จะประสบผลขาดทุนมาก  และอาจทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทยิ่งเลวลง จึงตัดสินใจราคาตลาดของหลักทรัพย์ประเภททุนมีราคาต่ำกว่าราคาทุน 100,000 บาท

               ณ วันสิ้นงวดบัญชีปี 2539 ราคาตลาดหลักทรัพย์ประเภทหนี้มีราคาสูงกว่าทุน 10,000 บาท ส่วนหลักทรัพย์ประเภททุนมีราคาตลาดรวมต่ำกว่าราคาทุนรวมอยู่ 40,000 บาท

ให้ท่าน

               ก.  แสดงการบันทึกบัญชีเงินลงทุนของบริษัท จาจ้า จำกัด    ที่ควรจะเป็นในสมุดรายวันทั่วไปของบริษัท ตั้งแต่ปี 2537 ถึงปี 2539 พร้อมทั้งรายการปรับปรุงที่ควรมี ณ วันสิ้นงวดบัญชีของแต่ละปีด้วย

               ข.  แสดงบัญชีและจำนวนเงิน (ถ้าสามารถทำได้) ที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนที่ควรปรากฏในงบกำไรขาดทุน และ /หรือ งบดุล ของแต่ละสิ้นงวดบัญชี ปี 2537 ถึง 2539  (20 คะแนน)

------------------------------------------

ข้อ 3 ให้ทำลงในกระดาษทำการที่จัดเตรียมไว้ให้

                วันที่ 1 มกราคม 2539 บริษัท เสือน้อย จำกัด ได้ซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท ลูกแมว จำกัด โดยแลกกับหุ้นสามัญของบริษัท เสือน้อย จำกัด จนวน 25,000 หุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 หุ้นสามัญของบริษัท เสือน้อย จำกัด มีราคาตลาดปิดที่ 30 บาท ต่อหุ้น การได้มาในครั้งนี้บริษัทฯ ใช้วิธีการบัญชีแบบซื้อกิจการ  บริษัททั้งสองยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปและจัดทำบัญชีจากกัน งบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ของบริษัททั้งสองปรากฎตามกระดาษทำการงบการเงินรวม 

ข้อมูลเพิ่มเติม                                                                         

1.  บริษัททั้งสองไม่มีการเพิ่มทุนในระหว่างปี 2539 ยกเว้นบริษัท เสือน้อย จำกัด ได้เพิ่มทุนเพื่อซื้อบริษัท
     ลูกแมว จำกัด เมื่อตอนต้นปี 2539

2.  ณ วันที่ซื้อกิจการ ราคายุติธรรมของเครื่องจักรของบริษัท ลูกแมว จำกัด มีมูลค่าสูงกว่าราคาตามบัญชีอยู่เป็นจำนวน 40,000 บาท ส่วนเกินดังกล่าวจะทะยอยตัดบัญชีตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรที่เหลืออยู่อีก 6     ปี ราคายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินอื่นในบัญชีบริษัท ลูกแมว จำกัด มีมูลค่าเท่ากับราคาตามบัญชีค่าความนิยมจากการซื้อกิจการจะทะยอยตัดบัญชีเป็นเวลา 20 ปี

3.  ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2539 บริษัท เสือน้อย จำกัด ขายโกดังสินค้าให้แก่บริษัท ลูกแมว จำกัด เป็นเงิน    129,000 บาท ณ วันที่ขายบริษัท เสือน้อย จำกัด มีราคาตามบัญชีเท่ากับ 33,000 บาท สำหรับที่ดิน และ        66,000 บาท สำหรับอาคารโกดัง บริษัท ลูกแมว จำกัด บันทึกแยกราคาที่ดินเท่ากับ 43,000 บาท และ อาคารโกดังเท่ากับ 86,000 บาท โดยถือราคาตามตราคาของผู้ประเมินราคาอิสระ บริษัท ลูกแมว จำกัด คิดค่าเสื่อมราคาอาคารโกดัง โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณเท่ากับ 5 ปี โดยไม่มีราคาซาก

4.  ในระหว่างปี 2539 บริษัท เสือน้อย จำกัด ซื้อสินค้าจากบริษัท ลูกแมว จำกัด มีมูลค่ารวม 180,000 บาท       ซึ่งเป็นราคาที่รวมกำไรที่บริษัท ลูกแมว จำกัด บวกเพิ่ม 100% จากราคาทุนของบริษัท ลูกแมว จำกัด ณ  31   ธันวาคม 2539 บริษัท เสือน้อย จำกัด เป็นหนี้บริษัท ลูกแมว จำกัด เป็นเงิน 86,000 บาท และสินค้าที่ บริษัท เสือน้อย จำกัด ซื้อจาก บริษัท ลูกแมว  จำกัด  มีเหลืออยู่ในสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด ในบัญชีของ บริษัท เสือน้อย จำกัด อยู่เป็นจำนวนเงิน 36,000 บาท 

คำสั่ง

             ให้จัดทำงบการเงินรวมของบริษัท เสือน้อย จำกัด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2539 โดยแสดงจำนวนเงินรายการปรับปรุงและรายการตัดรายการระหว่างกันในกระดาษทำการงบการเงินรวมที่จัดเตรียมไว้ให้ โดยไม่ต้องแสดงรายการบัญชีอย่างสมบูรณ์นอกกระดาษทำการงบการเงินรวม แต่ให้แสดงการคำนวณที่มาของจำนวนเงินรายการปรับปรุงและรายการตัดรายการระหว่างกัน (ไม่ต้องคำนึงถึงภาษี)  (20 คะแนน)

No comments: