audit
Custom Search

::: ::: จุดประสงค์ของการจัดทำบล็อกขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ หรือ กำลังเข้าสอบ Tax audit ของ กรมสรรพกร จะได้มีแหล่งหาข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบมากขึ้น เพราะทางผู้จัดทำได้ เห็นว่าปัจจุบัน ในการค้นหา ข้อมูลที่จะใช้ในการสอบ นั้น มีน้อยมาก ยิ่งผู้ที่สอบส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน และ ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นัก ผู้จัดทำจึง ทำบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ ตั้งแต่คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ วิชาที่ทำการสอบ โดยเฉพาะ ตัวอย่างแนวข้อสอบ ที่ผู้จัดทำ จะพยายาม หามาให้มากที่สุด เพื่อทุกท่านจะได้ใช้ในการทบทวน การสอบแต่เนิ่นๆ และยินดีรับฟัง ข้อเสนอแนะทุกท่าน เพื่อพัฒนาบล็อกแห่งนี้ ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกท่านให้มากที่สุด โดยเสนอความเห็นตามคอมเม้นได้เลยครับ ... ผู้จัดทำหวังว่า บล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ กับทุกท่านนะครับ ขอให้โชคดีในการสอบทุกครั้งครับ ...

ข้อสอบ วิชาการบัญชี ครั้งที่ 7 ปี 2541

ข้อ 1 ให้ใช้สมุดคำตอบสีส้ม

               นายดำ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่งออกจำหน่าย นายดำได้รับงบกำไรขาดทุนของปี 2540 ซึ่งแผนกบัญชีได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เป็นงบเปรียบเทียบกับปี 2539 ดังนี้ 

 

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

 

2540

2539

ขาย

11,200,000

9,000,000

ต้นทุนขาย

8,560,000

7,200,000

โสหุ้ยการผลิตคิดเข้างานต่ำไป (สูงไป)

495,000

(600,000)

 

9,055,000

6,600,000

กำไรขั้นต้น

2,145,000

2,400,000

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

1,500,000

1,500,000

กำไรสุทธิ

645,000

900,000

 

            นายดำรู้สึกงงมาก ว่าทำไมกำไรของปี 2540 จึงต่ำกว่าปี 2539 ทั้งๆ ที่ขายมากกว่าถึง 100,000 หน่วย ซึ่งปี 2540 ต้นทุนผลิตเพิ่มขึ้น 10% บริษัทก็ได้ตั้งราคาขายเพิ่มขึ้นถึง 12% ค่าใช้จ่ายไม่เปลี่ยนแปลง นายดำจึงขอคำอธิบายจากแผนกบัญชี

            ท่านได้ไปที่แผนกบัญชี พบข้อมูลของปี 2539 และ 2540 ดังนี้ (บริษัทใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน)

 

2540

2539

ราคาขายต่อหน่วย

11.20  บาท

10.00  บาท

วัตถุทางตรงต่อหน่วย

1.65  บาท

1.50  บาท

ค่าแรงงานทางตรงต่อหน่วย

2.75  บาท

2.50  บาท

โสหุ้ยการผลิตผันแปรต่อหน่วย

1.10  บาท

1.00  บาท

โสหุ้ยการผลิตคงที่ต่อหน่วย

3.30  บาท

3.00  บาท

โสหุ้ยการผลิตคงที่รวม

3,300,000  บาท

3,000,000  หน่วย

จำนวนหน่วยที่ผลิต ณ กำลังการผลิตปกติ

          1,000,000  หน่วย

1,000,000  หน่วย

จำนวนหน่วยที่ผลิตจริง

850,000  หน่วย

1,200,000  หน่วย

จำนวนหน่วยที่ขาย

1,000,000  หน่วย

900,000  หน่วย

สินค้าคงเหลือต้นงวด

300,000  หน่วย

0  หน่วย

สินค้าคงเหลือปลายงวด

150,000  หน่วย

300,000  หน่วย

ให้ทำ  ถ้าท่านเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชี ท่านจะอธิบายให้นายดำหายสงสัยอย่างไร

                                                                                                                         (20 คะแนน)


ข้อ 2 ให้ใช้สมุดคำตอบสีเขียว

 

               ต่อไปนี้เป็นข้อมูลประกอบและงบดุลของ บริษัทเกษตรรุ่งโรจน์ จำกัด ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้ไปตรวจสอบบัญชี

               ให้ท่านจัดทำงบกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540 วิธีทางอ้อม

ข้อมูลประกอบ

1. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ได้ซื้อหุ้นของบริษัท เอกไทย จำกัด 70% เป็นเงิน 400,000 บาท ซึ่งกำไรสุทธิ         ประจำปี 2540 ของบริษัท เอกไทย จำกัดเท่ากับ 60,000 บาท

2. ในระหว่างปี 2540 บริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าสิทธิบัตรเป็นจำนวน 150,000 บาท

3. ในระหว่างปี 2540 บริษัทฯ ขายอุปกรณ์ซึ่งมีราคาทุน 75,000 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 15,000 บาท ได้รับ       เงินสด   44,000 บาท

4. การประกาศและจ่ายเงินปันผลของปี 2539 และ 2540 มีดังนี้

                                                                              2540                             2539

ประกาศ                                                                15 พ.ค. 2540               15 พ.ค. 2539

จ่าย                                                                      15 ก.ค. 2540                15 ก.ค. 2539

จำนวนเงิน (บาท)                                                      240,000                       270,000

5. ในระหว่างปี 2540 ซ่อมแซมอาคาร โดยถือเป็นรายการพิเศษเป็นเงิน 120,000 บาท บันทึกโดยตัดบัญชี
     ค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร

6. กำไรสุทธิประจำปี 2540 เท่ากับ 720,000 บาท

7. รายละเอียดของอาคารและอุปกรณ์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้

                                                                              2540                             2539

อาคาร                                                                  1,500,000                    1,500,000

ค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร                                      (430,000)                   (400,000)

อุปกรณ์                                                                (135,000)                      (75,000)

8. ระหว่างปี 2540 บริษัทฯ จ่ายเงินสดจำนวน 88,000 บาท ไถ่ถอนตั๋วเงินจ่ายระยะยาวมูลค่า 80,000 บาท           และได้ออกตั๋วเงินจ่ายระยะยาว 160,000 บาท ชำระค่าอุปกรณ์ที่ซื้อในช่วงปลายปี 2540


ข้อ 2 (ต่อ)

บริษัท เกษตรรุ่งโรจน์ จำกัด

งบดุล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540

 

บาท

 

2540

2539

สินทรัพย์

 

 

เงินสด

138,000

100,000

ลูกหนี้การค้า (สุทธิ)

900,000

828,000

สินค้าคงเหลือ

990,000

930,000

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

100,000

60,000

เงินลงทุนในบริษัทย่อย

442,000

-0-

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ)

3,395,000

3,400,000

สิทธิบัตร

690,000

640,000

                           รวมสินทรัพย์

6,655,000

5,958000

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

 

 

เจ้าหนี้การค้า

1,010,000

888,000

ภาษีเงินได้ค้างจ่าย

105,000

90,000

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

85,000

80,000

ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว

680,000

600,000

เจ้าหนี้หุ้นกู้

800,000

800,000

ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้

20,000

25,000

ทุนเรือนหุ้น-หุ้นสามัญ

3,000,000

3,000,000

ส่วนเกินทุน-หุ้นสามัญ

175,000

175,000

กำไรสะสม

780,000

300,000

     รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

6,655,000

5,958,000

                                                                                                                 (20 คะแนน)

ข้อ 3 ให้ใช้สมุดคำตอบสีแดง              

               ส่วนหนึ่งของงบการเงินของบริษัท สมทรง จำกัด (มหาชน) ที่แสดงรายการดังต่อไปนี้ ให้ท่านวิเคราะห์ว่ามีข้อสังเกตใดที่ผิดหลักการบัญชี และให้จัดทำข้อเสนอแนะสำหรับข้อสังเกตนั้น เป็นข้อ ๆ อย่างละเอียด

บริษัท สมทรง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบดุลรวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

 

สินทรัพย์

 

หน่วย:บาท

สินทรัพย์หมุนเวียน

หมายเหตุ

2540

2539

เงินสดและเงินฝากธนาคาร

 

1,067,395

4,055,042

หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

2

19,000,000

25,000,000

ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า

3

46,000,000

46,000,000

สินค้าคงเหลือ

4

470,000,000

414,000,000

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

 

48,216,149

50,856,918

               รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

 

584,283,544

539,911,960

เงินลงทุนในบริษัทในเครือ

7

55,000,000

31,000,000

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

5

776,005,407

721,601,017

สินทรัพย์อื่น

10

2,052,148

1,971,000

รวมสินทรัพย์

 

1,421,413,099

1,294,483,977

 

  

หมายเหตุประกอบงบการเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


บริษัท สมทรง จำกัด (มหาชน ) และบริษัทย่อย

งบดุลรวม (ต่อ)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

 

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

 

 

 

หนี้สินหมุนเวียน

 

 

 

  เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

6

238,537,668

431,904,259

  เงินกู้ยืมระยะสั้น

 

43,489,716

111,131,134

  เจ้าหนี้การค้า

 

37,049,780

25,786,790

  ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี

12

10,800,000

23,520,000

  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

 

18,892,454

14,663,903

  หนี้สินหมุนเวียน

 

35,592,466

58,051,995

รวมหนี้สินหมุนเวียน

 

384,362,084

665,058,081

หุ้นกู้

13

15,000,000

-

เงินกู้ยืมระยะยาว

12

89,190,003

190,476,584

รวมหนี้สิน

 

488,552,087

855,534,665

ส่วนของผู้ถือหุ้น

 

 

 

  ทุนหุ้นสามัญ

 

200,000,000

200,000,000

  ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

 

100,000,000

-

  ส่วนล้ำมูลค่าจากเงินลงทุนสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี

11

20,000,000

-

  กำไรสะสม

 

 

 

    จัดสรรแล้ว

 

23,695,585

2,500,000

    ยังไม่ได้จัดสรร

 

589,165,427

236,449,312

  รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

 

932,861,012

438,949,312

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

 

1,421,413,099

1,294,438,977

 

 

 

 

หมายเหตุประกอบงบการเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


บริษัท สมทรง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกำไรขาดทุนรวม

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

 

 

 

หน่วย : บาท

รายได้

หมายเหตุ

2540

2539

     รายได้จากการขาย

 

350,148,000

506,911,402

     รายได้อื่น

9

350,000,000

-

     รวมรายได้

 

700,148,000

506,911,402

ค่าใช้จ่าย

 

 

 

     ต้นทุนขาย

 

195,074,000

271,221,281

     ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

 

146,790,352

145,610,441

     ดอกเบี้ยจ่าย

 

43,951,948

48,221,213

     รวมค่าใช้จ่าย

 

385,816,300

465,052,935

กำไรก่อนรายการพิเศษ

 

314,331,700

41,858,467

รายการพิเศษ

16

(30,420,000)

-

กำไรสุทธิหลังหักรายการพิเศษ

 

283,911,700

41,858,467

ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี

8

40,000,000

-

ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (เงินลงทุน)

 

100,000,000

-

กำไรสุทธิ

 

423,911,700

41,858,467

กำไรต่อหุ้น

 

 

 

 

 

 

 

     กำไร(ขาดทุน)ก่อนรายการพิเศษ

 

15.72

2.09

     รายการพิเศษ

 

1.52

-

    กำไร(ขาดทุน)สุทธิ

 

21.2

2.09

    หมายเหตุประกอบงบการเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


บริษัท สมทรง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกำไรสะสม

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

 

 

หมายเหตุ

หน่วย : บาท

 

 

2540

2539

กำไรสะสมจัดสรรแล้ว

 

 

 

     สำรองตามกฎหมาย

 

 

 

               ยอดต้นงวด

 

2,500,000

 

               เพิ่มขึ้นระหว่างงวด

 

21,195,585

2,500,500

     รวมกำไรสะสมจัดสรรแล้ว

 

23,695,585

2,500,500

กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร

 

 

 

     ยอดยกมาจากงวดก่อน

 

236,449,312

197,010,785

     กำไรสุทธิสำหรับปี

 

423,911,700

41,858,467

     หัก      สำรองตามกฎหมาย

15

21,195,585

2,419,940

               เงินปันผล

15

50,000,000

-

     รวมกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร

 

589,165,427

236,449,312

รวมกำไรสะสม

 

612,861,012

238,949,312

 

หมายเหตุประกอบงบการเงินนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


บริษัท สมทรง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 2539

 

1. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ

     1.1      บริษัทฯ และบริษัทย่อย บันทึกรายได้ดังนี้

               ก. รายได้จากการก่อสร้าง รับรู้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งคำนวณตามอัตราส่วนต้นทุนของ                                 งานที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะเกิดขึ้น

               ข. รายได้จากการขายรับรู้เมื่อมีการส่งมอบสินค้า

     1.2      หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดบันทึกตามราคาทุนรวมหรือตลาดรวม แล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า
                ส่วนแตกต่างระหว่างราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่าราคาทุนรวมบันทึกเป็นรายได้อื่น หรือค่าใช้จ่ายในรอบ                   บัญชีนั้น

     1.3      ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คำนวณโดยดูสถานะของลูกหนี้แต่ละราย

     1.4      สินค้าคงเหลือได้แก่สินค้าที่มีไว้ขาย และงานระหว่างทำซึ่งรวม ค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและ                     ดอกเบี้ย และได้แสดงไว้ตามราคาทุนโดยวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน หรือมูลค่าที่คาดว่าจะขายได้ที่ตำกว่า

     1.5      เงินลงทุนในบริษัทร่วม แสดงโดยวิธีส่วนได้เสีย ส่วนเกิน(ขาด)ระหว่างเงินลงทุนและมูลค่าทางบัญชี                    ทั้งของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมแสดงอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะตัดจำหน่ายโดยวิธีเส้นตรงภายใน                10 ปี

     1.6      ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงราคาทุนหลังหักค่าเสื่อมราคาสะสมแล้ว ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธี                    เส้นตรงตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ดังนี้

               อาคารสำนักงาน                                      ร้อยละ            5 ต่อปี

               เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน             ร้อยละ            20 ต่อปี

               ยานพาหนะ                                            ร้อยละ            20 ต่อปี

               สินทรัพย์อื่นๆ                                         ร้อยละ            20 ต่อปี

     1.7      เงินตราต่างประเทศใช้อัตราแลกเปลี่ยนดังนี้

               - รายการที่เกิดขึ้นระหว่างปี ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ

               - สินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นปี ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุล

               - กำไร(ขาดทุน)จากการแปลงค่า บันทึกเป็นรายได้(ค่าใช้จ่าย)ในระหว่างปี กำไร(ขาดทุน) จากการ                    แปลงค่าที่เกิดหลังการเปลี่ยนแปลงระบบ (2 กรกฎาคม 2540) บันทึกเป็นรายการพิเศษ

     1.8      ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินเพื่อขายถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่ดิน ดอกเบี้ยที่เกิด                   ขึ้นจากการก่อสร้างถือเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์จนกว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์

     1.9      กำไรสุทธิต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิของแต่ละปีด้วย จำนวนหุ้นที่ออก ณ วันสิ้นปีของแต่ละปี

  

2. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

               บริษัทมีหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ประกอบด้วย

 

(พันบาท)

ราคาทุน

ราคาตลาด

 

2540

2539

2540

2539

บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)

15,000

20,000

9,000

10,000

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

1,000

2,000

4,000

5,000

บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี จำกัด (มหาชน)

3,000

3,000

25,000

21,000

 

19,000

25,000

38,000

36,000

              

     ราคาตลาดหุ้นของบริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) คำนวณโดยใช้ราคาที่ตราไว้ต่อหุ้น (10 บาท) เนื่องจากบริษัทถูกระงับการดำเนินงาน

 

3. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า

               ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

 

(พันบาท)

2540

2539

 

บาท

บาท

ลูกหนี้จากการขาย

41,000

44,000

ตั๋วเงินรับ

10,000

5,000

                           รวม     รว

51,000

49,000

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

5,000

3,000

                           รวม-สุทธิ

46,000

46,000

 

4. สินค้าคงเหลือ

               สินค้าคงเหลือของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

 

(พันบาท)

2540

2539

 

บาท

บาท

วัตถุดิบ

100,000

40,000

งานระหว่างก่อสร้าง

300,000

314,000

ดอกเบี้ยจ่ายที่ถือเป็นต้นทุน

20,000

30,000

สินค้าสำเร็จรูป

50,000

30,000

                           รวม        

470,000

414,000

    


5. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

               ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ของบริษัท และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

 

 

2540

2539

 

บาท

บาท

ที่ดิน

339,055,041

278,221,132

ดอกเบี้ยจ่ายที่ถือเป็นต้นทุน

121,500,000

100,050,000

อาคาร

76,997,721

103,731,500

อุปกรณ์การก่อสร้าง

59,725,621

71,289,499

ยานพาหนะ

76,690,030

73,954,133

เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์สำนักงาน                

126,850,644

123,102,167

                           รวม                 

800,819,057

750,348,431

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม

(24,813,650)

(28,747,414)

               มูลค่าสุทธิตามบัญชี

776,005,407

721,601,017

              

               ที่ดินส่วนหนึ่งจำนวน 50 ล้านบาท เป็นที่ดินซึ่งซื้อมาโดยตั้งใจว่าจะพัฒนาเพื่อขายในอนาคต

 

6. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

               เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

 

 

2540 บาท

2539 บาท

เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร

86,199,958

89,932,326

เงินกู้ยืมสถาบันการเงิน                            

152,337,710

341,971,933

                           รวม     รวม     รว

238,537,668

431,904,259

 

               บริษัทและบริษัทย่อยได้ทำสัญญาเบิกเกินบัญชีวงเงิน 100 ล้านบาท จากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
วงเงินดังกล่าวค้ำประกันโดยที่ดินรอการพัฒนาของบริษัท

               บริษัทและบริษัทย่อยได้กู้ยืมเงินระยะสั้นกับสถาบันการเงินหลายแห่งด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.5-16.5 ต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเงินกู้ที่เป็นเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐ จำนวน 500,000 เหรียญสหรัฐ  ณ วันสิ้นปี  ได้แปลงค่าเป็นเงินบาท ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นได้บันทึกเป็นรายการพิเศษ วงเงินดังกล่าวค้ำประกันโดยอาคารของบริษัท


7. เงินลงทุนในบริษัทในเครือ

               บริษัทมีเงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น ดังนี้

ปี 2540 (พันบาท)

ทุนที่ชำระ

สัดส่วนลงทุน

เงินลงทุน

 

 

 

 

 

ราคาทุน

ส่วนได้เสีย

 

2540

2539

2540

2539

2540

2539

2540

2539

บริษัทร่วม

 

 

 

 

 

 

 

 

-บริษัท ชมฟ้า จำกัด

10,000

5,000

20

20

10,000

6,000

(15,000)

 

-บริษัท ทุนทวี จำกัด

25,000

15,000

50

50

30,000

15,000

5,000

5,0005

(10,000)

-บริษัท เหลืองคราม จำกัด

10,000

7,000

40

50

15,000

10,000

10,000

5,000

               รวม

45,000

27,000

 

 

55,000

31,000

0

0

 

               การลงทุนในบริษัททั้งหมดเป็นการลงทุนในหุ้นสามัญ ซึ่งจ่ายชำระเต็มมูลค่าแล้ว บริษัทไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนทางการเงินเป็นพิเศษแก่บริษัทในเครือ

               บริษัทได้ลงทุนใน บริษัท เงินลงทุน ทุนทวี จำกัด ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน โดยตั้งใจว่าจะขายเงินลงทุนดังกล่าวในต้นไตรมาสที่ 1 เมื่อราคาหุ้นของบริษัทสูงขึ้น

 

8. ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี

               บริษัทย่อยแห่งหนึ่งทำการเปลี่ยนแปลงวิธีการตัดจำหน่ายค่าใช้จ่ายในการพัฒนา จากวิธี Sum-of-the-Year Digit เป็นวิธีเส้นตรงและได้คำนวณผลกระทบปรับปรุงในงวดปี 2540

 

9. รายได้อื่น

               1. บริษัทได้ขายที่ดินและอาคาร ได้กำไร 200 ล้านบาท โดยบริษัทต้องควบคุมดูแลการก่อสร้างให้เสร็จสิ้น บริษัทยังไม่สามารถคำนวณต้นทุนจากการคุมงานดังกล่าว

               2. บริษัทได้ขายเงินลงทุนใน บริษัท เสียงใส จำกัด ได้กำไร 100 ล้านบาท โดยมีข้อกำหนดว่าจะซื้อคืนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2541

               3. บริษัทมีส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 50 ล้านบาท

 

10. สินทรัพย์อื่น

               บริษัทมีผลขาดทุนสะสมเกินส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย สำหรับปี 2540 จำนวนเงิน 2,052,148 บาท และปี 2539 จำนวนเงิน 1,971,000 บาท

 

11. ส่วนล้ำมูลค่าจากเงินลงทุนต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี

               บริษัทได้ลงทุนในบริษัท แสงทวี จำกัด โดยบริษัทจ่ายเงินลงทุนสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท

 


12. เงินกู้ยืมระยะยาว

                เงินกู้ยืมระยะยาว ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

 

2540

บาท

2539

บาท

เงินกู้ยืมระยะยาว

99,990,003

213,996,584

หัก ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระใน 1 ปี

(10,800,000)

(23,520,000)

                           รวม                                                              

89,190,003

190,476,584

              

               บริษัทและบริษัทย่อย ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ในวงเงิน  68 ล้านบาท ซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำบวกร้อยละ 0.25 ต่อปี กำหนดชำระเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2547

               วงเงินดังกล่าวค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินและอาคารของบริษัท

 

13. หุ้นกู้

               ในระหว่างปี 2540 บริษัทได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 15,000,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 8 หุ้นกู้ดังกล่าวสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในอัตรา 1 หุ้นกู้ต่อ 1 หุ้นสามัญ ภายในระยะเวลา 5 ปี

 

14. รายการระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

               บริษัทมีรายการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย เงินกู้ยืมจากบริษัทย่อย ดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย ลูกหนี้การค้า และขายสินค้าระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย ดอกเบี้ยและราคาขายกระทำภายใต้มูลค่าที่ตกลงกัน

 

15. เงินปันผลและสำรองตามกฎหมาย

               ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2540 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2540 คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 2.50 บาท เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท และได้จัดสรรเงินกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายในอัตราร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน

 16. รายการพิเศษ

               16.1 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นระบบค่าเงินบาทลอยตัว ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดหลังการเปลี่ยนแปลงระบบจำนวน 21.42 ล้านบาท ซึ่งได้แสดงเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในรายการพิเศษ รายการพิเศษนี้ไม่มีผลกระทบต่อภาษีเงินได้ ในปี 2540 เนื่องจากบริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินสะสมมา

               16.2 บริษัทได้ขายเครื่องจักรเครื่องหนึ่งที่ไม่ได้ใช้งาน  เนื่องจากตัดสินใจเลิกผลิตสินค้าดังกล่าว มีผลขาดทุนทั้งสิ้น 9 ล้านบาท

17. หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น

               ในเดือนธันวาคม บริษัทถูกแจ้งดำเนินการปรับจากการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียไม่ถูกต้อง บริษัทจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5 ล้านบาท แต่บริษัทกำลังทำเรื่องคัดค้าน โดยบริษัทมีประกันในส่วนที่เสียหายครอบคลุมอยู่

                                                                                                                           (20 คะแนน)

No comments: